ข้อมูลทั่วไปของเทศบาล
สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลสามแวง

              เทศบาลตำบลสามแวง  ได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เมื่อวันที่  29  สิงหาคม  2556  เดิมทีตำบลสามแวงแยกมาจากตำบลบ้านยาง  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  เมื่อปี พ.ศ. 2480  "สามแวง"  เป็นชื่อตำบลที่เรียกตามลักษณะของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลำน้ำไหลผ่านและมีพืชตระกูลหญ้าเกิดตามหนองน้ำ ซึ่งในภาษาเขมร  คำว่า "เวง"  ที่เพี้ยนเป็นแวงนั้น แปลว่า "ยาว" สำหรับคำว่า  "สาม"  เพี้ยนมาจาก  "อันซาม"  ซึ่งเป็นพืชตระกูลหญ้า  ตำบลสามแวง  มีหมู่บ้านในการปกครองทั้งสิ้น  9  หมู่บ้าน  ได้แก่  บ้านสามแวง  บ้านใหม่  บ้านใหม่  บ้านสะแกสามัคคี  บ้านใหม่  บ้านโคกเจริญ บ้านใหม่ทักษิณ  บ้านเพชรน้อย  และบ้านโคกกระเบา  ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมรในการสื่อสาร


ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล




              เทศบาลตำบลสามแวง มีตราประจำเทศบาล เป็นรูปกนก 3 ตัว เป็นศิลปะที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นอารยะและมีวัฒนธรรม จึงได้นำมาเป็นสัญลักษณ์แทน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

               รูปเทียน                             หมายถึง               แสงสว่าง
               ใบข้าว  3  ใบ ที่โอบล้อมอยู่    หมายถึง                ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารและการร่วมมือร่วมใจ
               หยดน้ำ                              หมายถึง                ความชุ่มชื้น
 
              เมื่อรวบรวมความหมายเข้ากันแล้วแสดงถึง ความร่วมมือ ร่วมใจกันเพื่อสร้างสรรค์แผ่นดินนี้ให้งอกงาม อุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีความกินดี อยู่ดี จิตใจงามสมคำว่า ?แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง? ซึ่งแต่ละคนมองไปทางเดียวกัน คือ การพัฒนาท้องถิ่น


ที่ตั้งและอาณาเขต

              เทศบาลตำบลสามแวง ตั้งอยู่เลขที่  90  หมู่ที่  5  ถนนห้วยราช ? สตึก  ตำบลสามแวง   อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้วยราช  ประมาณ  5  กิโลเมตร  และห่างจากตัวจังหวัด  14  กิโลเมตร  โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้                   

               ทิศเหนือ                    ติดต่อกับ               ตำบลโคกเหล็ก    
               ทิศใต้                       ติดต่อกับ               ตำบลห้วยราชา     
               ทิศตะวันออก               ติดต่อกับ               ตำบลเมืองไผ่        
               ทิศตะวันตก                 ติดต่อกับ               ตำบลบ้านยาง


เนื้อที่

              มีพื้นที่ทั้งหมด  18.99  ตารางกิโลเมตร   หรือประมาณ  11,866  ไร่

เขตการปกครอง

              เทศบาลตำบลสามแวง  มีเขตการปกครอง  จำนวน  9  หมู่บ้าน  ดังนี้
                             หมู่ที่    1      บ้านสามแวง                    หมู่ที่   2   บ้านใหม่
                             หมู่ที่    3      บ้านใหม่                         หมู่ที่   4   บ้านสะแกสามัคคี
                             หมู่ที่    5      บ้านใหม่                         หมู่ที่   6   บ้านโคกเจริญ
                             หมู่ที่    7      บ้านใหม่ทักษิณ                หมู่ที่   8   บ้านเพชรน้อย
                             หมู่ที่    9      บ้านโคกกระเบา  


หมายเลขโทรศัพท์  044-696159

E-mail  6311602@dla.go.th  

แผนที่แสดงอาณาเขตการปกครอง






ภารกิจ  อำนาจหน้าที่เทศบาล

               การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลสามแวง เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมสร้าง ร่วมจัดทำ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลสามแวง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลสามแวงจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ให้เกิดความตระหนัก ร่วมกันแก้ไขปัญหา และความเข้าใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลสามแวงยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ด้านการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งต้นเองในท้องถิ่นและยังให้จัดตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม
 
               การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่เทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2596 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และตามกฎหมายอื่นเทศบาล โดยใช้เทคนิค Swot เข้ามาช่วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าเทศบาลมีอำนาจหน้าที่ ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม หรืออุปสรรคในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก Swot เทศบาลตำบลสามแวงกำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาท้องถิ่น นโยบายของรัฐบาล และนโยบายผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหากับการกำหนดภารกิจของเทศบาลเป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542